วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553






อำเภอทรายมูล
เป็นอำเภอหนึ่งใน
จังหวัดยโสธร มีสถานที่สำคัญทางศาสนา คือ "พระธาตุฝุ่น" เป็นพระธาตุที่มีลักษณะเป็นเนินดินทรายที่มนุษย์สร้างขึ้น ตั้งอยู่ภายในตัวอำเภอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอทรายมูลเพียงไม่กี่ร้อยเมตร หมู่บ้านทรายมูล ซึ่งเป็่นที่ตั้งอำเภอทรายมูลในปัจจุบัน เดิมเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก (ของตัวอำเภอในปัจจุบัน) และอยู่ห่างจากหมู่บ้านทรายมูลในปัจจุบัน ประมาณ 2 กิโลเมตร ประมาณช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน ราษฎรจึงได้อพยพย้ายครัวเรือนมาอาศัยและทำมาหากินอยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านแห่งใหม่ ซึ่งก็คือบริเวณหมู่บ้านทรายมูลในขณะนี้ โดยในครั้งนั้นราษฎรได้นำทรายและดินจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิริมงคลหลายแห่ง มาโปรยรอบบริเวณหมู่บ้านแห่งใหม่ เพื่อขับไล่โรคระบาดด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งใหม่นี้ว่า "บ้านทรายมูล" โดยขณะนั้นมีเขตการปกครองขึ้นอยู่กับอำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาหมู่บ้านทรายมูล ได้รับการยกฐานะเป็นตำบลทรายมูล และในปีพ.ศ.2511 ได้รับการประกาศเป็นเขตสุขาภิบาลทรายมูล ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2518 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอทรายมูล โดยแยกพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอเมืองยโสธร คือ ตำบลทรายมูล ดู่ลาด ดงมะไฟ และนาเวียง ขึ้นกับกิ่งอำเภอทรายมูล ต่อมาในปี พ.ศ.2521 ตำบลไผ่ อำเภอกุดชุม จึงได้แยกมาขึ้นอยู่กับกิ่งอำเภอทรายมูล และเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2527 กิ่งอำเภอทรายมูลได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร และสุขาภิบาลทรายมูล ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลทรายมูล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542

คำขวัญประจำอำเภอ
"พระธาตุฝุ่นล้ำค่า
สวนป่าดงมะไฟ
หอไตรประวัติศาสตร์
เห็ดธรรมชาติสมบูรณ์"

ปล.เห็ดที่บ้านเรานะรับประกันเลยอร่อยและมีหลากหลายชนิดมากจะว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกอย่างเลยก็ว่าได้ฝนตกเมื่อไหร่นะเป็นเรื่อง..อยากให้ชิมรับประกันปลอดภัยชัวร์..แต่ก็มีนะคนที่มาเก็บเห็ดซึ่งมาจากที่อื่นยังไม่รู้ว่าเห็ดชนิดไหนกินได้กินไม่ได้เรียกว่าเก็บมั่วอันเนี้ยอันตรายมากต้องคนในพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น...โดยเฉพาะแม่เราเวลาแม่เอามาทำกินแม่ก็ทำอร่อยด้วยนะ..5555

ประวัติประเพณีงานบุญบั้งไฟ
บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในเดือน ๖ (ที่อำเภอเราก็ประมาณเดือนพฤษภาคมทุกปีแต่วันที่จะจัดนั้นจะไม่แน่นอน )การจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นก็เพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีทำบุญขอฝนจากพญาแถนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลบ้าง คนหรือวัวควายอาจเกิดป่วยเป็นโรคต่างๆ บ้างเป็นต้น และเมื่อทำบุญดังกล่าวแล้ว ก็เชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ประชาชนในหมู่บ้านนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีอาหารข้าวปลาที่บริบูรณ์ทั้งปราศจากโรคภัยด้วย “ ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนหกแล้วให้นำเอาน้ำวารีสรงโสก ฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สู่ภาย อย่าได้ละเบี่ยงบ้ายปัดป่ายหายหยุด มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า จงพากันทำแท้แนวคองฮีตเก่า เอาบุญไปเรื่อยๆ อย่าถอยหน้าหากสิเสีย” เดือนหกทำบุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา การทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน และจะมีงาน บวชนาคพร้อมกันด้วย การทำบุญเดือนหกเป็นงานสำคัญก่อนการทำนา หมู่บ้านใกล้เคียงจะนำ เอาบั้งไฟมาจุดประชันขันแข่งกัน หมู่บ้านที่รับเป็นเจ้าภาพจะจัดอาหาร เหล้ายามาเลี้ยงโดยไม่คิด มูลค่า เมื่อถึงเวลาก็จะตั้งขบวนแห่บั้งไฟและรำเซิ้งออกไป ณ ลานที่จุดบั้งไฟ การเซิ้งจะกระทำด้วย ความสนุกสนาน ไม่มีการทะเลาะวิวาท คำเซิ้งและการแสดงประกอบด้วย (ไปชมประเพณียิ่งใหญ่นี้ได้ที่จังหวัดยโสธร ช่วงต้น เดือนพฤษภาคมของทุกปีและช่วงงานประเพณีของเรานั้นแทบที่จะมีการจัดทุกอำเภอ,ตำบลหรือหมู่บ้านเรียกได้ว่ากว่าจะครบทั่วทั้งจังหวัดเกือน3เดือนกันเลยทีเดียวสลับสับเปลี่ยนกันแทบจะทุกอาทิตย์เลยขอบอกว่าสนุกมากส่วนใหญ่แต่ละอำเภอจะจัดกันยิ่งใหญ่มากและวันจัดจะไม่ค่อยตรงกันเท่าไรเพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกที่จะเที่ยวกันได้เต็มที่และที่สำคัญวันงานนั้นจะจัดกัน 3 วันเป็นอย่างน้อยแล้วแต่ว่าแต่ละอำเภอ วันแรกอาจมีการประกวดธิดาบั้งไฟโก้หรือประกวดเวทีเชียร์ซึ่งรูปแบบการจัดเวทีเชียร์จะมีการจัดตั้งเวทีกันตามแนวถนนยาวหลากหลายเวทีสนุกมากการันตีจ๊ะซึ่งเค้าจะจัดกันเที่ยงวันยันเที่ยงวันของอีกวันนึงกันเลยทีเดียว*ถ้ามีภาพเดี๋ยวจะจัดให้อีกที ส่วนวันที่ 2 จะเป็นการประกวดขบวนเซิ้งสวยงามซึ่งแต่ละคุ้มแต่ละหมู่จะส่งเข้าประกวดกันอำเภอหนึ่งก็ประมาณสิบกว่าขบวนถ้าอำเภอใหญ่ๆก็เยอะหน่อยเงินรางวัลก็เยอะด้วย ส่วนวันที่ 3 จะเป็นการจัดการแข่งขันจุดบั้งไฟวันนี้คนเยอะมาก ขอเชิญมาพิสูจน์ความสนุกกันถึงที่ได้รับรองคุ้มแน่นอน ปล.ค่ารถถ้ามาที่อ.ทรายมูลของเรารถทัวร์นะประมาณสี่ร้อยมั้งถ้าจำไม่ผิดของ บ.เชิดชัยทัวร์และบ.ไทยสงวนทัวร์จ๊ะ ชาวทรายมูลยินดีต้อนรับของเราอาจจะไม่ยิ่งใหญ่เหมือนในอ.เมืองแต่ก็สนุกเหมือนกันเด้อ)
วิธีทำบั้งไฟ โดยการเอาขี้เจีย(ดินประสิว) มาประสมคั่วกับถ่าน โขลกให้แหลกเรียกว่าหมื่อ (ดินปืน) เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่(ปัจจุบันใช้ท่อพลาสติก)อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ เกี่ยวกับการทำบ้องไฟ เรียกว่า บุญบั้งไฟ กำหนดทำกันในเดือนหก
ตามประวัติประเพณีบุญบั้งไฟมีอยู่ว่า พญาคันคากท้าสู้รบกับพญาแถน หากพญาแถนแพ้ต้องส่งฝนลงมาให้โลกมนุษย์เป็นประจำทุกปี ผลการสู้รบปรากฏว่าพญาแถนแพ้พญาคันคาก เพราะพญาคันคากใช้แผนส่งปลวกขึ้นไปกัดด้ามอาวุธ ส่งมด ตะขาบ ไปซ่อนอยู่ในรองเท้าและเสื้อผ้าที่จะออกรบของพญาแถนและทหาร พญาแถนก็ยอมทำตามสัญญาแต่โดยดีแต่มีข้อแม้ว่าชาวโลกจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปเตือนว่าต้องการฝนเมื่อใด ด้วยเหตุนี้ชาวโลกที่ต้องการน้ำดื่มน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรจึงได้ทำบั้งไฟจุดขึ้นไปขอฝนกับพญาแถนในช่วงก่อนฤดูทำนา คือประมาณเดือนหก ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ด้วยความเชื่อตามเรื่องเล่านี้จึงทำให้ชาวอีสานทำบั้งไฟทุกปีเพื่อเตือนพญาแถน
ก่อนจะถึงวันงานหรือวันเอาบุญ ชาวบ้านก็จะช่วยกันเตรียมงานกันอย่างสามัคคี ฝ่ายแม่ครัวก็เตรียมข้าวปลาอาหารไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ฝ่ายช่างฟ้อนก็เตรียมขบวนรำไว้สำหรับแห่บั้งไฟ ฝ่ายผู้ชายที่เป็นช่างฝีมือก็ช่วยกันทำบั้งไฟและตกแต่งให้สวยงาม งานบุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนาเท่าใดนักแต่บางแห่งก็มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระบ้าง
ในวันโฮม ชาวบ้านก็จะมาตั้งขบวนเพื่อแห่บั้งไฟไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นงานบุญที่เน้นความสนุกสนานรื่นเริง ในขบวนจะมีการรำเซิ้งตามบั้งไฟ และบรรดาขี้เหล้าทั้งหลายก็จะร้องเพลงเซิ้งไปขอเหล้าตามบ้านต่าง ๆ (ภาษาอีสานเรียกว่าการแผ่เงินผู้ให้ก็จะให้แล้วแต่ศรัทธาเพราะถือว่าช่วยกันงานประเพณีที่ปีหนึ่งจัดกันแค่ครั้งเดียวไม่ว่ากัน)กาพย์เซิ้งอาจจะหยาบคายแต่ก็ไม่มีใครถือสากัน แต่กาพย์เซิ้งที่ใช้แห่ในขบวนมักจะเป็นประวัติและความเป็นมาของพิธีบุญบั้งไฟ
ส่วนในวันจุดบั้งไฟก็อาจจะเป็นอีกวันหนึ่งคือเป็นวันที่ชาวบ้านจะเอาบั้งไฟของแต่ละคุ้มแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน ถ้าของใครทำมาดีจุดขึ้นได้สู่งสุดก็จะชนะแต่ถ้าของใครแตกหรือซุก็ถือว่าแพ้ ต้องโดนลงโทษโดยการจับโยนลงโคลนหรือตมซึ่งเป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น